สินค้า : กลุ่มปูนซีเมนต์และผลิตภัณฑ์คอนกรีต
สินค้ายอดนิยม
สินค้ากลุ่มปูนซีเมนต์และผลิตภัณฑ์คอนกรีตทั้งหมด

อิฐ และบล็อกมวลเบา
บล็อกปูถนน
ผลิตภัณฑ์ซีเมนต์
- เสาเข็ม
- แผ่นพื้นสำเร็จPrecast
- บ่อพัก
- ท่อระบาย
- คันกั้นล้อ
อิฐมวลเบา คุณสมบัติของอิฐมวลเบาขนาดอิฐมวลเบา และข้อแนะนำในการใช้งาน
อิฐมวลเบา หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า “คอนกรีตมวลเบา” หากต้องการความคุ้มค่า คุ้มราคา ต้องนึกถึงอิฐมวลเบา เพราะอิฐมวลเบา เป็น อิฐมวลเบาอบไอน้ำ ที่มีคุณสมบัติเหนือกว่าอิฐทั่วๆ ไป ทั้งในด้าน “ความแข็งแรง มีคุณสมบัติ กันความร้อน กันเสียงและกันไฟ” เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับมาตรฐาน มอก. ตามชั้นคุณภาพ G2 และ G4 สามารถก่อสร้างได้รวดเร็ว สามารถนำไปใช้ได้ทั้งผนังภายในและภายนอก วัสดุเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและระบบผนังเพื่องาน LEED
คุณสมบัติของอิฐมวลเบา
- ประหยัดพลังงาน กันความร้อนได้ดีกว่าอิฐมอญ 4 – 8 เท่า จึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายจากขนาดเครื่องปรับอากาศที่เล็กลงและลดค่าไฟฟ้าได้กว่า 30%
- กันเสียงและดูดซับเสียงได้ดี สามารถช่วยลดทอนความดังของเสียงจากภายนอกอาคาร และภายในระหว่างห้องได้เป็นอย่างดี
- ทนไฟนานกว่า 4 ชั่วโมง สามารถกันไฟได้นานกว่าผนังอิฐมอญ 2-4 เท่า
ขนาดอิฐมวลเบา
- ความกว้าง : 20 ซม. ความยาว : 60 ซม. ความสูง/หนา : 7.5 ซม. น้ำหนัก : 5.58 กก.
- ความกว้าง : 20 ซม. ความยาว : 60 ซม. ความสูง/หนา : 10 ซม. น้ำหนัก : 7.44 กก.
- ความกว้าง : 20 ซม. ความยาว : 60 ซม. ความสูง/หนา : 12.5 ซม. น้ำหนัก : 9.30 กก.
- ความกว้าง : 20 ซม. ความยาว : 60 ซม. ความสูง/หนา : 15 ซม. น้ำหนัก : 11.16 กก.
- ความกว้าง : 20 ซม. ความยาว : 60 ซม. ความสูง/หนา : 20 ซม. น้ำหนัก : 14.89 กก.
- ความกว้าง : 20 ซม. ความยาว : 60 ซม. ความสูง/หนา : 25 ซม. น้ำหนัก : 18.61 กก.
ข้อแนะนำในการใช้งานอิฐมวลเบา
- การใช้เครื่องมือที่ไม่เหมาะสม เช่น ใช้เกรียงใบโพธิ์ ในการก่อ ทำให้พื้นที่หน้าสัมผัสปูนไม่สมบูรณ์ ผนังไม่แข็งแรง ทำงานล่าช้า และสิ้นเปลือปูนก่อ
- กรณีใช้ผนังหนา 7.5 ซม. ให้ทำเสาเอ็นทับหลัง คสล.ทุกมุม และรัดรอบวงกบช่องเปิด เช่นเดียวกับอิฐมอญ ยกเว้นผนังหุ้มท่อ และกล่องเสาโชว์ที่มีความกว้างรวมกันทุกด้านไม่เกิน 1.5 เมตร
- การผสมปูนก่อต้องข้นพอดี ทดสอบโดยการป้ายด้านข้างของ Block หากเหลวเกินไป ปูนจะไหลย้อนลงมา แต่หากปูนข้นเกินจะป้ายปูนไม่ติด
- การก่อในแต่ละชั้นนั้น หากรอยต่อ Block ไม่ได้ระดับแนวระนาบเดียวกัน ควรใช้เกรียงฟันปลาไส ปรับแต่งให้เป็นแนวเดียวกัน ปัดฝุ่นออกก่อนที่จะก่อต่อไป
- เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการก่อ Block ควรก่อ Block แถวแรกให้แล้วเสร็จทั้งหมดในวันแรก เพื่อให้ผนังเซ็ตตัว แล้วจึงก่อ Block ชั้นต่อไปในวันถัดมา
คอนกรีตผสมเสร็จ กระบวนการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ ข้อแนะนำในการเตรียมพื้นที่เท ขั้นตอนการเทคอนกรีต
ก่อนจะซื้อคอนกรีตผสมเสร็จต้องรู้อะไรบ้าง ที่แน่ๆต้องรู้ว่าคอนกรีตผสมเสร็จคืออะไร แล้วมีกระบวนการการผลิตอย่างไรจึงได้มาตฐาน ควรเลือกซื้อคอนกรีตแบบไหนให้ปลอดภัยและคุ้มค่า เพราะในแต่ละประเภทงานเทคอนกรีตในแต่ละโครงสร้างนั้นมีความแตกต่างกัน ผู้รับเหมามีกระบวนการผลิตที่ถูกมาตรฐานหรือไม่ แล้วจะซื้อคอนกรีตผสมเสร็จจะรู้ได้ไงว่าต้องซื้อในปริมาณเท่าไหร่ต่อประเภทงานนั้น
คอนกรีตผสมเสร็จ หรือคอนกรีตสำเสร็จรูป คือ ส่วนผสมของปูนซีเมนต์ หิน ทราย น้ำ และน้ำยาผสมคอนกรีต ที่ผสมกันเบ็ดเสร็จจากโรงงาน ซึ่ง ตั้งอยู่นอกหรือในหน่วยงานก่อสร้าง รวมถึงบริการจัดส่งไป ณ หน่วยงานก่อสร้างโดยรถผสมคอนกรีต ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่าธุรกิจคอนกรีตผสมเสร็จเป็นทั้งการขายผลิตภัณฑ์ และการขายบริการ จะพบว่า ผู้ควบคุมงานให้ความสนใจในคุณภาพคอนกรีต เป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ผู้รับเหมา ให้ความสนใจในเรื่องการบริการและราคาที่เหมาะสม
กระบวนการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ
- เริ่มจากการตรวจสอบคุณสมบัติของส่วนผสมต่างๆ อันได้แก่ หิน ทราย ที่ได้เลือกจากแหล่งที่มีคุณภาพดี มีส่วนคละถูกต้องตามมาตรฐาน
- จัดกองไว้ไม่ให้ผสมกัน บรรจุปูนซีเมนต์ไว้ในไซโลอย่างมิดชิด และถูกบรรจุน้ำยาผสมคอนกรีตในภาชนะเฉพาะอย่างมิดชิดเช่นกัน
- ลำเลียงหิน ทราย ปูนซิเมนต์ และสารผสมอื่นๆ(ถ้ามี) เช่น เถ้าลอย ผ่านเครื่องชั่งให้มีน้ำหนักถูกต้องตามที่ออกแบบไว้ โดยจะต้องคำนึงถึงสภาพความชื้นของหินทรายด้วย เพราะหินทรายอาจจะไม่อยู่ในสภาพที่ออกแบบ หรือสภาพอิ่มตัว ผิวแห้ง ซึ่งจะต้องปรับน้ำหนักหินทราย และน้ำให้ถูกต้อง
- น้ำและน้ำยาผสมคอนกรีตจะผ่านเครื่องชั่งหรือวัดปริมาตร แล้วนำเข้ามาผสมกันในเครื่องผสมคอนกรีต ซึ่งจะต้องผสมคอนกรีตตามเวลาที่กำหนด ให้มีความเที่ยงตรง สม่ำเสมอ และรวดเร็ว
- เมื่อผสมคอนกรีตเสร็จเรียบร้อยแล้ว คอนกรีตจะถูกลำเลียงลงสู่รถผสมคอนกรีตเพื่อนำไปส่งยังหน่วยงานก่อสร้าง
ข้อแนะนำในการเตรียมพื้นที่เทคอนกรีตผสมเสร็จ
- เก็บวัชพืช ขุดรากไม้ เศษดินร่วน โคลน และสารอินทรีย์ออก
- ปรับระดับบริเวณที่จะเทคอนกรีต ควรบดอัดแล้วจนได้ความหนา 10 ถึง 15 เซนติเมตร (กรณีทั่วไป) ด้วยเครื่องมือบดอัด เช่น รถบด เครื่องตบหน้าดินแบบสั่นสะเทือน หรือบดด้วยลูกกลิ้ง
- สำหรับการเทพื้นคอนกรีตบนดินโคลน ต้องขุดโคลนออกให้หมดแล้วนำดินใหม่มาใส่บดอัดให้แน่น ส่วนดินเหนียวหรือดินที่น้ำระบายได้ยาก ควรใส่ชั้นกรวดทรายหนาไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร เพื่อรองรับพื้นคอนกรีต และบดอัดชั้นกรวดทรายให้แน่นเพื่อปรับระดับ
- ราดน้ำบนผิวดินก่อนเทคอนกรีต เพื่อป้องกันมิให้น้ำในคอนกรีตถูกดูดซับออกไป ซึ่งจะทำให้กำลังของคอนกรีตลดลง